เปิดปิดไฟด้วยเสียง
เรียนรู้วิธีควบคุม Arduino ด้วย เซ็นเซอร์เสียง LM393 เราจะควบคุม การ ปิด เปิด ไฟ LED ด้วยเสียงตบมือ โดยเราจะใช้เซ็นเซอร์ตรวจจับเสียง LM393 + รีเลย์ และแสดงผลด้วยไฟ LED
อุปกรณ์ที่ใช้
1. Arduino UNO R3 - Made in italy
2. Sound Detection Sensor Module LM393
3. สาย Jumper Female to Male ยาว 20cm.
4. สาย Jumper Male to Male ยาว 20cm.
5. Prototype PCB Board 4x6 cm Double Sides
6. สกรูหัวกลม+น็อตตัวเมีย ขนาด 3มม ยาว 12มม
7. Relay 1 Channel DC 5V Module
8. SMD LED Lighting G4 AC DC 12V
9. รางถ่าน AA 8 ก้อน
การต่อวงจร ระหว่าง เซ็นเซอร์เสียง LM393 กับ Arduino UNO
LM393 <--> UNO
+5V <--> 5V
GND <--> GND
OUT <--> D4
การต่อวงจร ระหว่าง Relay กับ Arduino UNO
Relay <--> UNO
5V <--> 5V
GND <--> GND
IN <--> D5
GND <--> GND
IN <--> D5
การต่อวงจร ระหว่าง UNO+ Relay + LED + รางถ่าน
*** การต่อ LED กับ PCB Board ด้านล่างต้องใช้ ตะกั่วบัดกรี Jumper กับ ขา LED ให้เชื่อมต่อกัน ทั้ง 2 ขา ***
*** LED เป็น LED แบบไม่มีขั้ว ต่อเข้าด้านไหนก็ทำงานได้เช่นกัน ***
*** LED เป็น LED แบบไม่มีขั้ว ต่อเข้าด้านไหนก็ทำงานได้เช่นกัน ***
หมายเหตุ : ที่ 5V ของ Arduino มี 2 สาย จาก เซ็นเซอร์เสียง และ Relay ที่ใช้ร่วม 5V จุดเดียวกัน ให้ เชื่อมต่อ 2 เส้น รวมกันก่อน ให้เหลือ 1 เส้น แล้วจึงเสียบเข้าไปที่ 5V
บล็อกไดอะแกรม
อธิบายโค้ด
int sound_sensor = 4; // ประกาศให้พินดิจิตอล 4 เป็นตัวแปรชื่อ sound_sensor มีชนิดของข้อมูลคือ int คือ เลขจำนวนเต็ม
int relay = 5; // ประกาศให้พินดิจิตอล 5 เป็นตัวแปรชื่อ relay มีชนิดของข้อมูลคือ int คือ เลขจำนวนเต็ม
int relay = 5; // ประกาศให้พินดิจิตอล 5 เป็นตัวแปรชื่อ relay มีชนิดของข้อมูลคือ int คือ เลขจำนวนเต็ม
int clap = 0; // ประกาศตัวแปรชื่อ clap มีชนิดของข้อมูลคือ int คือ เลขจำนวนเต็ม มีค่าเริ่มต้น เป็น 0
long detection_range_start = 0; // ประกาศตัวแปรชื่อ detection_range_start มีชนิดของข้อมูลคือ long คือ เลขจำนวนเต็ม มีค่าเริ่มต้น เป็น 0
long detection_range = 0; // ประกาศตัวแปรชื่อ long detection_range มีชนิดของข้อมูลคือ long คือ เลขจำนวนเต็ม มีค่าเริ่มต้น เป็น 0
boolean status_lights = false; // ประกาศตัวแปรชื่อ status_lights มีชนิดของข้อมูลคือ boolean คือ มีค่าได้เพียงสองค่าคือ จริง-true และ เท็จ-false โดยให้มีค่าเริ่มต้น เป็น เท็จ-false
void setup() { // ฟังก์ชัน setup จะทำงานครั้งแรก เพียงครั้งเดียวเท่านั้น
pinMode(sound_sensor, INPUT); // ให้ พินดิจิตอล 4 ตัวแปร sound_sensor เป็นพินโหมด แบบอินพุท เพื่อรับค่า จากเซ็นเซอร์เสียง
pinMode(relay, OUTPUT); // ให้ พินดิจิตอล 5 ตัวแปร relay เป็นพินโหมด แบบเอาท์พุทเพื่อส่งค่าการทำงานให้กับ รีเลย์
} // สิ้นสุดการทำงานของฟังก์ชัน setup
void loop() { // ฟังก์ชัน loop จะทำงานซ้ำ วนลูป ไปเรื่อยๆ
int status_sensor = digitalRead(sound_sensor); // ประกาศตัวแปร status_sensor และรับค่าจาก พินดิจิตอล 4 ตัวแปร sound_sensor
if (status_sensor == 0) // ถ้า status_sensor เท่ากับ 0
{
if (clap == 0) // ถ้า clap เท่ากับ 0
{
detection_range_start = detection_range = millis(); // ให้ตัวแปร detection_range_start และ detection_range มีค่าเท่ากับ millis หรือ milliseconds คือการจับเวลาของ Arduino ทันทีที่มีไฟเลี้ยงเข้า
clap++; // ให้ clap มีค่าอยู่เท่าไรให้บวกหนึ่ง
}
else if (clap > 0 && millis()-detection_range >= 50) // ถ้า clap มากกว่า 0 และ millis ลบกับ detection_range มากกว่าหรือเท่ากับ 50
{
detection_range = millis(); // ให้ detection_range เท่ากับ millis
clap++; // ให้ clap มีค่าอยู่เท่าไรให้บวกหนึ่ง
}
}
if (millis()-detection_range_start >= 400) // ถ้า millis ลบกับ detection_range_start มากกว่าหรือเท่ากับ 400
{
if (clap == 2) // ถ้า clap เท่ากับ 2
{
if (!status_lights) // ถ้า status_lights เป็นเท็จ
{
status_lights = true; // ให้ status_lights เท่ากับ จริง
digitalWrite(relay, HIGH); // ส่งข้อมูล HIGH ไปที่รีเลย์ เพื่อให้ไฟติด
}
else if (status_lights) // ถ้า status_lights เป็นจริง
{
status_lights = false; // ให้ status_lights เป็นเท็จ
digitalWrite(relay, LOW); // ส่งข้อมูล LOW ไปที่รีเลย์ เพื่อให้ไฟดับ
}
}
clap = 0; // ให้ clap เท่ากับ 0
}
} // สิ้นสุดการทำงานของฟังก์ชัน loop แล้วเริ่มทำงานฟังก์ชัน loop ใหม่ซ้ำไปเรื่อยๆ
อัพโหลดโค้ด
เปิดโปรแกรม Arduino (IDE) และ Upload โค้ดนี้ ไปยัง บอร์ด Arduino UNO R3
int sound_sensor = 4;
int relay = 5;
int clap = 0;
long detection_range_start = 0;
long detection_range = 0;
boolean status_lights = false;
void setup() {
pinMode(sound_sensor, INPUT);
pinMode(relay, OUTPUT);
}
void loop() {
int status_sensor = digitalRead(sound_sensor);
if (status_sensor == 0)
{
if (clap == 0)
{
detection_range_start = detection_range = millis();
clap++;
}
else if (clap > 0 && millis()-detection_range >= 50)
{
detection_range = millis();
clap++;
}
}
if (millis()-detection_range_start >= 400)
{
if (clap == 2)
{
if (!status_lights)
{
status_lights = true;
digitalWrite(relay, HIGH);
}
else if (status_lights)
{
status_lights = false;
digitalWrite(relay, LOW);
}
}
clap = 0;
}
}
ไปที่ Tools > Board เลือกเป็น Arduino/Genuino UNO
ไปที่ Tools > Port แล้วเลือกพอร์ตที่ปรากฏ (กรณีใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มี COM Port มากกว่าหนึ่ง ให้เลือกตัวอื่นที่ไม่ใช่ COM1)
ในตัวอย่างเลือกเป็น "COM3"
(ถ้ายังว่าง หรือ เป็น COM1 ให้ตรวจสอบการติดตั้งไดร์เวอร์ การต่อสาย USB ของ Arduino UNO)
(ถ้าไม่พบให้ทำการติดตั้งไดร์เวอร์ก่อน)
การติดตั้งโปรแกรม Arduino (IDE) และ การติดตั้งไดร์เวอร์
การติดตั้งโปรแกรม Arduino (IDE) และ การติดตั้งไดร์เวอร์
กดปุ่ม เพื่ออัพโหลด
หากสามารถอัพโหลดโปรแกรมลงบอร์ดได้สำเร็จ จะแสดงคำว่า Done uploading. ที่แถบด้านล่าง
การปรับค่า Sound Detection Sensor Module LM393
ต่อวงจรไม่ได้ครับ
ตอบลบ